วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร

กิจกรรมการไหว้ครูของสาขานาฏยศิลป์ศึกษา
ที่มา : ภาพถ่ายจากสาขานาฏยศิลป์ศึกษา ภาพการที่พิธีปีที่๑

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร

กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--สหมงคลฟิล์ม
“ครู”มาจากภาษาบาลีว่า “คุรุ”ซึ่งแปลว่า“ผู้สั่งสอน” ว่ากันว่าครูเป็นผู้มีพระคุณ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้กับศิษย์ นอกจากครูคนแรกผู้ให้กำนิดแก่เราคือมารดาและบิดาแล้ว ครูผู้ให้ความรู้ ให้การศึกษา สร้างความก้าวหน้า อนาคตที่ดีจนพวกเราสำเร็จในหน้าที่การงานก็เป็นอีกท่านที่มีพระคุณต่อเรา จึงควรระลึกถึงยกย่อง กราบไหว้อยู่เป็นนิจ จึงก่อให้เกิดประเพณีการกราบไหว้ครูขึ้นอยู่เป็นประจำทุกปีเพื่อให้ศิษย์ได้กตัญญูตอบแทนพระคุณครู
ประเพณี “การไหว้ครูนาฏศิลป์ ครอบครูโขน-ละคร” กล่าวได้ว่าเป็นประเพณีชั้นสูงที่มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ตามประวัติได้มีการเริ่มจดบันทึกขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีครูเกษ ซึ่งท่านเป็นข้าหลวงเดิมมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 และทำการตกทอดสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
ว่ากันว่าครูผู้เป็นประธานไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครได้นั้นจะต้องได้รับการมอบหมายหรือสืบทอดกันอย่างเป็นทางการ โดยในปี2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบทอดประเพณีดังกล่าวจึงโปรดเกล้าฯให้ทางกรมศิลปากรคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับมอบเป็นประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครจากพระองค์จำนวน 5 ท่าน นายธีระยุทธ์ ยวงศรี(เสียชีวิตแล้ว) ,นายธงไชย โพธยารมย์,นายทองสุก ทองหลิม(เสียชีวิตแล้ว),นายอุดม อังศุธรและนายสมบัติ แก้วสุจริต
ต่อมานายธงไชย โพธยารมย์ได้มีการถ่ายทอดให้นายเผด็จ พลับกระสงค์ข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากรเป็นประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร
ประเพณี “การไหว้ครูนาฏศิลป์ ครอบครูโขน-ละคร”จะให้ความสำคัญกับครูเป็นพิเศษเพราะจะถือว่าครูเปรียบเสมือนกับเทพเจ้า ผู้มาประสิทธิประสาทวิชาให้กับตน ว่ากันว่า “พระอิศวร”เป็นเทพเจ้าสูงสุดอยู่บนสวรรค์คือครูคนแรกที่ถ่ายทอดท่าร่ายรำนาฏศิลป์มาสู่โลกมนุษย์ โดยให้พระภรตฤาษีเป็นผู้จดบันทึกท่าร่ายรำ และนำไปสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาต่อไป พระภรตฤาษีก็
คือครูผู้ใหญ่หรือครูคนแรกที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดท่ารำระบำบรรพ์อันวิจิตร จากพระอิศวรมาสู่โลกมนุษย์และนำไปสั่งสอนเป็นลำดับต่อไป การไหว้ครูทางนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครจึงขาดไม่ได้ที่จะมีเศียรของเหล่าเทพเจ้า และศีรษะฤาษีเป็นเครื่องบูชาเคารพกราบไหว้
ในระหว่างการทำพิธีไหว้ครูครอบครูซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพิธีโบราณที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานซึ่งประกอบไปด้วยพีธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์มากมาย อาทิ พิธีบูชาครูและเทพเจ้า ,พิธีสรงน้ำเทวรูป,การถวายเครื่องสังเวย,พิธีเจิมและเบิกเนตรศรีษะใหม่,การรำถวายมือ การโปรยข้าวตอก,รำกราวรำ ส่วนทางด้านเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบพิธีไหว้ครูครอบครูจะเป็นเครื่องดนตรีปี่พาทย์ไม้แข็งโดยจะเป็นเครื่องคู่หรือเครื่องห้าก็ได้ โดยทำการบรรเลงพลงหน้าพาทย์ตามประเพณีที่ประกอบพิธีไหว้ครู จึงกล่าวได้ว่าพิธีไหว้ครูครอบครูเป็นพิธีที่ได้รับการยกย่องและเคารพเป็นอย่างยิ่งด้วยความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีนั้นเอง
ดังนั้นประเพณีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครจึงถือได้ว่ามีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าร่วมในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร เพราะผู้ที่เข้าสู่พิธีไหว้ครูถือได้ว่าได้ผ่านวิชานาฏศิลป์หรือวิชาช่างในทุกสาขาต้องได้ผ่านประเพณีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร เพื่อความเป็นศิริมงคลของตนและได้ผ่านขั้นตอนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
พิธีการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจา พนม ยีรัมย์
การจัดงานพิธีการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 นั้นได้รับเกียรติจากนายเผด็จ พลับกระสงค์ข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากรเป็นประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจาพนม ยีรัมย์ ตัวแทนทูตวัฒนธรรมแห่งชาติที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพการแสดง จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติอย่างยิ่งยวดจากการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยโบราณ เผยแพร่ออกไปให้คนทั่วโลกได้รู้จักจากผลงานภาพยนตร์เรื่ององค์บาก และต้มยำกุ้ง ประกอบกับทางจา พนม ยีรัมย์ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมตัวที่จะก้าวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์พร้อมกับแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก 2” ซึ่งมีรายละเอียดของเนื้อหาภาพยนตร์ที่สอดคล้องเกี่ยวกับการเชิดชูครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะการต่อสู้ในภาพยนตร์เองยังได้รับอิทธิพลพื้นฐานจากท่าทางของการแสดงโขน แต่จุดประสงค์สำคัญคือเพื่อความเคารพครูบาชาอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาท วิชาและเพื่อความเป็นศิริมงคล และความก้าวหน้าประสบความสำเร็จต่อวิชาชีพสืบต่อไป
สำหรับทางด้านรูปแบบพิธีการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจา พนม ยีรัมย์ ที่จัดขึ้นนี้กล่าวได้ว่าเป็นพิธีที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องมาตามรูปแบบพิธีไหว้ครูครอบครูอย่างเป็นทางการ โดยทั้งนี้ศีรษะโขนที่ใช้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครมีศีรษะหลักๆ 9 ศีรษะดังนี้
1.ศีรษะพระอิศวร
2.ศีรษะพระนารายณ์
3.ศีรษะพระพรหม
4.ศีรษะพระปัญจสิงขร
5.ศีรษะพระปรคนธรรพ์
6.ศีรษะพระพิคเณศ
7.ศีรษะพระพิราพ
8.ศีรษะพ่อแก่พระฤษี
9.ศีรษะเทริดโนราห์
และศีรษะที่ใช้ครอบให้กับจา พนม ยีรัมย์ที่เข้ารับการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครมี3ศีรษะคือ
1.ศีรษะพระฤษี
2.ศีรษะพระพิราพ
3.ศีรษะเทริดโนราห์
นอกจากนี้สำหรับพิธีไหว้ครูครอบครูให้จา พนม ยีรัมย์ที่จัดขึ้นนี้ได้มีการเพิ่มพิธีครอบอีก 1ศีรษะคือศีรษะพระวิษณุกรรม เพราะถือได้ว่าเป็นศีรษะทางช่าง เป็นวิชาชีพศิลปะแขนงหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่จา พนม ยีรัมย์ได้ทำพิธีรับครอบศีรษะพระวิษณุกรรมนี้ ถือว่าได้รับมอบทางครูช่างเรียบร้อยแล้ว
กำหนดการพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจา พนม ยีรัมย์
เวลา08.30น. เชิญสื่อมวลชนร่วมลงทะเบียนและรับประทานอาหารบริเวณลาน
ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติโรงเล็ก
เวลา09.00น.
-จา พนม ยีรัมย์พร้อมทีมงานภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก2” จุดธูปเทียนถวายสักการะบูชาสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
-จา พนม ยีรัมย์จุดธูปเทียนบูชาสักการะเทพยดาฟ้าดินกลางแจ้งบริเวณลานด้านนอกข้างๆอนุสาวรีย์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เวลา09.39 น.
-จา พนม ยีรัมย์พร้อมทีมงานภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก2”เข้าประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขนละครอย่างเป็นทางการภายในโรงละคร
แห่งชาติโรงเล็ก
- จุดธูปเทียนถวายพระรัตนตรัย โดยมีวงปี่พาทย์บรรเลงตลอด
-จุดธูปเทียนหน้าปรัมพิธีเพื่อสักการะเทพเจ้า
-จา พนม ยีรัมย์มอบถวายขันกำนลครู
เวลา 10.00น.
-ประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครทำพิธีอัญเชิญบูชาครูเทพเจ้า
-พิธีสรงน้ำเทวรูปและถวายเครื่องสังเวย
-พิธีครอบครูโขน-ละครเพื่อความเป็นศิริมงคลตามสืบทอดประเพณีโบราณ
-ข้าราชการฝ่ายนาฏศิลป์สำนักการสังคีตทำพิธีรำถวายมือ
-ผู้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูครอบครูรับพรจากครูพร้อมทำพิธีส่งครู
-ผู้เข้าร่วมพิธีทำพิธีรำโปรยข้าวตอกดอกไม้ ,และร่วมรำแสดงความยินดี ประกอบเพลงกราวรำ
เวลา13.30 น.
-ประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูมอบเครื่องโรง(ศาสตราอาวุธต่างๆ)ให้กับ จา พนม เปรียบเสมือนว่าได้รับการมอบสิทธิในการเป็นผู้ถ่ายทอดทางด้านศิลปะการแสดงสืบต่อไป
-ทุกคนร่วมแสดงความยินดีไชโยโห่ร้อง อันเป็นจบพิธี
แหล่งอ้างอิงเนื้อหาข้อมูล

พิธีไหว้ครูและ ครอบครูนาฏศิลป์ไทย

แหล่งอ้างอิง

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ฉุยฉายเบญกาย

                  รำฉุยฉายเบญกาย

7950820
เป็นลีลาการร่ายรำขณะที่ตัวละครเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถแปลงกายหรือแต่งกายได้อย่างสวยงดงาม เป็นศิลปะการร่ายรำที่มีความวิจิตรบรรจง ผู้ที่ร่ายรำจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือ องค์ประกอบที่สำคัญในการรำฉุยฉาย คือ ตัวละครที่มีรูปร่างและใบหน้าที่งดงาม มีความสามารถในการร่ายรำและสามารถสอดใส่อารมณ์ได้ถูกต้องตามแบบบทคำร้อง และเสียงของปี่ที่เป่าเลียนแบบเสียงคำร้องอย่างชัดถ้อยชัดคำ การรำฉุยฉายนั้นจะประกอบไปด้วยเพลงรัว ร้องเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรี จบด้วยเพลงเร็ว – ลาเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรี เป็นเพลงโบราณ เพลงฉุยฉายเป็นเพลงช้า ส่วนเพลงแม่ศรีนั้นเป็นเพลงเร็ว อยู่ในอัตราเพลง ๒ ชั้น เรียกตามหน้าทัพว่า “สองไม้


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ฉุยฉายพราหมณ์

ฉุยฉายพราหมณ์
ฉุยฉายพราหมณ์ - รำเต็ม โดย อาจารย์ขวัญใจ คงถาวร คำร้อง: พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ...ปี่พาทย์ทำเพลงรัว ร้องฉุยฉาย ฉุยฉายเอย ช่างงามขำช่างรำโยกย้าย สะเอวแสนอ่อนอรชรช่วงกาย วิจิตรยิ่งลายที่คนประดิษฐ์ สองเนตรคมขำแสงดำมันขลับ ชม้อยเนตรจับช่างสวยสุดพิศ ฯ สุดสวยเอย ยิ่งพิศยิ่งเพลินเชิญให้งงงวย งามหัตถ์งามกรช่างอ่อนระทวย ช่างนาดช่างนวยสวยยั่วนัยนา ทั้งหัตถ์ทั้งกรก็ฟ้อนถูกแบบ ดูยลแยบสวยยิ่งเทวา ฯ ร้องแม่ศรี น่าชมเอย น่าชมเจ้าพราหมณ์ ดูทั่วตัวงาม ไม่ทรามจนนิด ดูผุดดูผ่อง เหมือนทองทาติด ยิ่งเพ่งยิ่งพิศ ยิ่งคิดชมเอย ฯ น่ารักเอย น่ารักดรุณ เหมือนแรกจะรุ่น จะรู้เดียงสา เจ้ายิ้มเจ้าแย้ม แก้มเหมือนมาลา จ่อจิตติดตา เสียจริงเจ้าเอย ฯ ...ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว-ลา

ืื
้ัอ้างอิง

https://www.youtube.com/watch?v=VVKVn-aI9ow

รำมโนราห์บูชายัญ

                                                  การแสดงมโนราห์       
เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย

การแสดงมโนราห์ นิยมจัดแสดง ตามงานเทศกาลต่างๆ ในท้องถิ่น ภาคใต้ ปัจจุบัน มีการแสดง ประเภทอื่นให้ดูมากขึ้น เช่น วงดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วีดีโอ และซีดี ที่มีหนัง มีละคร ให้ดูกันถึงบ้าน ทำให้ศิลปะ การแสดงประเภทนี้ ลดความนิยมลงไป จะหาชมได้ในโอกาส สำคัญๆ เช่น งานอนุรักษ์วัฒนธรรม ในพิธีไหว้ครูของมโนราห์ (โนราโรงครู) หรือในงานต่างๆ ที่เจ้าภาพผู้จัดยังมี ความรัก และชื่นชอบในศิลปะการแสดง ประเภทนี้
 

 มโนราห์บูชายัญ

เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครเรื่อง "พระสุธน - มโนราห์" ตอน มโนราห์บูชายัญ ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดแสดงขึ้น และแสดงให้ประชาชนชาวไทยดูเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๘ กล่าวถึง เมื่อนางมโนราห์ขอปีก หางได้แล้ว ก็แสร้งกล่าวทูลลา และขอพระราชทานอภัยต่อท้าวอาทิตยวงศ์ แล้วร่ายรำทำท่าคล้ายกับจะกระโดดเข้ากองไฟ ระบำชุดนี้ใช้เพลงแขกบูชายัญ โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลงเร็วของคุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ มาบรรเลงร่วมกับโทนและกลองชาตรี ไม่มีเนื้อร้อง ผู้แสดงจะร่ายรำตามจังหวะเครื่องดนตรี
อ้างอิง

คลิปการแสดงมโนราห์บูชายัญ

อ้างอิง

รำพื้นเมืองบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ

👉👉👉   รำพื้นเมืองบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ   👈👈👈 (คลิกที่นี่เพื่อดูหนังสือ E-book) ที่มา : นางสาวสวรินทร์  วรวงษ์  ถ่ายเมื่อวันที่ 12 มีนาค...